เมนู

จริงว่า นี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความ
ดับทุกข์ เหมือนบุรุษมีจักษุ พึงเห็นรูปทั้งหลายในระหว่างที่ฟ้าแลบในเวลา
มืดกลางคืน ชื่อแม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
ว่านี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้
ถึงความดับทุกข์ ก็ฉันนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบ.
3.

วชิรูปมจิตตบุคคล

บุคคลผู้มีจิตเหมือนฟ้าผ่า
เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ยิ่งแล้วด้วยตนเอง ทำให้แจ้งแล้ว เข้า
ถึงแล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติ ซึ่งปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรม เหมือนแก้วมณีหรือ
แผ่นหิน อะไรชื่อว่าไม่แตกย่อมไม่มีเมื่อฟ้าผ่าลงไป ชื่อแม้ฉันใด บุคคล
บางคนในโลกนี้ รู้ยิ่งแล้วด้วยตนเอง ทำให้แจ้งแล้ว เข้าถึงแล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติ
ซึ่งปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแล้ว
สำเร็จอิริยาบถอยู่ในทิฏฐธรรมก็ฉันนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีจิตเหมือน
ฟ้าผ่า.


อรรถกถาอรุกูปมาจิตตบุคคลเป็นต้น.


บทว่า "อภิสชฺชติ" ได้แก่ ย่อมข้อง.
บทว่า "กุปฺปติ" ได้แก่ ย่อมกำเริบ ด้วยอำนาจความโกรธ.
บทว่า "พฺยาปชฺชติ" ได้แก่ ย่อมละปกติภาวะ จึงชื่อว่า เป็น
ผู้เน่า.

บทว่า "ปติตฺถิยติ" ได้แก่ ย่อมถึงความเป็นผู้กระด้าง และความ
เป็นผู้หยาบช้า.
บทว่า "โกปํ" ได้แก่ ความโกรธที่มีกำลังอ่อน.
บทว่า "โทสํ" ได้แก่ โทสะที่มีกำลังมากกว่า กว่าความโกรธนั้น
ด้วยอำนาจการประทุษร้าย.
บทว่า "อปฺปจฺจยํ" ได้แก่ โทมนัส คือ ความเสียใจที่มีอาการ้อน
ไม่ยินดี.
บทว่า "ทุฏฺฐารุโก" ได้แก่ แผลเรื้อรัง.
บทว่า "กฏฺเฐน" ได้แก่ ด้วยปลายท่อนไม้.
บทว่า "กถลาย" ได้แก่ ด้วยกระเบื้อง.
บทว่า "อาสวํ เทติ" ได้แก่ ย่อมไหลออกมากมาย. ก็ตามธรรมดา
แผลเรื้อรังนั้น ย่อมไหลออกซึ่งสิ่งปฏิกูล 3 อย่าง คือ ปุพฺพํ น้ำหนอง
โลหิตํ น้ำเลือด ยูสํ น้ำเหลือง ก็แผลนั้น อะไร ๆ กระทบแล้ว สิ่งปฏิกูล
เหล่านั้น ย่อมไหลออกมามากมาย.
คำว่า "เอวเนว โข" นี้มีการเปรียบเทียบด้วยอุปมา ดังต่อไปนี้.
ก็บุคคลผู้มักโกรธ ท่านเปรียบเหมือนแผลเรื้อรัง (แผลเน่า) ความ
ประพฤติแม้ของผู้มักโกรธ เปรียบเหมือนการไหลออกของสิ่งปฏิกูล 3 อย่าง มี
น้ำหนองเป็นต้นตามธรรมดาของตน ความประพฤติดุร้าย เปรียบเหมือนซาก
ศพที่บวมพองขึ้นตามธรรมดาของตน ถ้อยคำของผู้มักโกรธนั้น แม้มีประมาณ
เล็กน้อย ท่านก็เปรียบเหมือนการกระทบกระทั่งด้วยท่อนไม้ หรือกระเบื้อง
บัณฑิตพึงเห็นภาวะ คือ การพองขึ้นโดยประมาณมากมายของผู้มักโกรธนั้น
ด้วยความคิดอย่างนี้ว่า "บุคคลนี้ พูดอย่างนี้ ชื่อผู้เช่นกับเรา" ท่านเปรียบ
เหมือนการไหลออกมากมายแห่งปฏิกูลทั้งหลาย.

สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน
เรียกว่า อรุกูปมจิตฺโต แปลว่า ผู้มีจิตเปรียบด้วยแผลเรื้อรัง อธิบายว่า ผู้
มีจิตเช่นกับแผลเก่า (แผลเน่า)
บทว่า "รตฺตนฺธการติมิสาย" ความว่า ในความมืดทึบอันกระทำ
ความมืดโดยห้ามการเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณในเวลากลางคืน.
บทว่า "วิชชนฺตริกาย" ได้แก่ ในขณะแห่งฟ้าแลบเป็นไป. แม้
ในคำว่า วิชฺชนฺตริกาย นี้ พึงทราบการเปรียบเทียบด้วยอุปมา ดังต่อไปนี้.
พระโยคาวจร คือ ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร บัณฑิตพึงเห็นเหมือนบุรุษ
ผู้มีจักษุดี กิเลสทั้งหลายที่พระโสดาปัตติมรรคพึงประหาน เปรียบเหมือนความ
มืด การเกิดขึ้นแห่งโสดาปัตติมรรคญาณ เปรียบเหมือนฟ้าแลบ การเห็น
พระนิพพานในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค เปรียบเหมือนการเห็นรูปโดยรอบ
ของบุรุษผู้มีจักษุในระหว่างฟ้าแลบ. กิเลสทั้งหลายที่พระสกทาคามิมรรคพึง
ประหาน เปรียบเหมือนการท่วมท้น คือ การปกคลุมแห่งความมืดอีก, ความ
เกิดขึ้นแห่งสกทาคามิมรรค เปรียบเหมือนฟ้าแลบเป็นไปอีก, การเห็นพระ-
นิพพานในขณะแห่งสกทาคานิมรรค เปรียบเหมือนการเห็นรูปโดยรอบของ
บุรุษผู้มีจักษุในระหว่างฟ้าแลบ. กิเลสทั้งหลายที่พระอนาคามิมรรคพึงประหาน
เปรียบเหมือนกับการท่วมท้น คือ การปกคลุมด้วยความมืดอีก, ความเกิดขึ้น
แห่งอนาคามิมรรคญาณ เปรียบเหมือนฟ้าแลบเป็นไปอีก, การเห็นพระนิพ-
พานในขณะแห่งอนาคามิมรรคเปรียบเหมือนการเห็นรูปโดยรอบของบุรุษผู้มี
จักษุในระหว่างฟ้าแลบ.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้
ท่านเรียกว่า วิชฺชูปมจิตฺโต แปลว่า ผู้มีจิตเปรียบด้วยฟ้าแลบ. อธิบายว่า
ผู้มีจิตเช่นกับฟ้าแลบเพราะความสว่างในเวลาที่ประหานมีเล็กน้อย.

ในความที่บุคคลมีจิตเปรียบด้วยฟ้าผ่า มีการเปรียบเทียบด้วยอุปมา
ดังต่อไปนี้
ก็บัณฑิตพึงเห็นญาณในอรหัตตมรรค เปรียบเหมือนฟ้าผ่า, กิเลส
ทั้งหลายที่อรหัตมรรคพึงประหาน เปรียบเหมือนปุ่มแก้วมณีหรือปุ่มก้อนหิน,0
บัณฑิตพึงเห็นความที่กิเลสทั้งหลายถูกตัดขาดไปด้วยอรหัตมรรคญาณ เปรียบ
เหมือนการไม่มีแห่งภาวะที่ปุ่มแก้วมณีหรือปุ่มก้อนหินที่ถูกฟ้าผ่าเจาะทำลายตัด
ขาดแล้วไม่เจริญขึ้น, บัณฑิตพึงเห็นความที่กิเลสทั้งหลายถูกอรหัตมรรคตัด
ขาดแล้วไม่เกิดขึ้นอีก เปรียบเหมือนปุ่มแก้วมณีหรือปุ่มก้อนหินที่ถูกฟ้าผ่าเจาะ
ทำลายขาดไปแล้วไม่บริบูรณ์ได้อีก.
สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้เห็นปานนี้ ท่าน
เรียกว่า วชิรูปมจิตฺโต แปลว่า ผู้มีจิตอุปมาด้วยฟ้าผ่า อธิบายว่า ผู้มีจิตเช่น
กับด้วยฟ้าผ่า เพราะความเป็นผู้สามารถเพื่อการกระทำการเพิกถอนขึ้นซึ่งกิเลส
ทั้งหลาย.

[90] 1. อันธบุคคล บุคคลผู้บอด เป็นไฉน ?
บุคคลพึงได้โภคะที่ตนยังไม่ได้ หรือพึงกระทำโภคะที่ตนได้แล้ว
ให้เจริญด้วยจักษุเช่นใด จักษุเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่บุคคลบางคนในโลกนี้
บุคคลพึงรู้ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล รู้ธรรมทั้งหลายที่มีโทษและไม่
ไม่มีโทษ รู้ธรรมที่เลวและประณีต รู้ธรรมทั้งหลายที่มีส่วนเปรียบ โดยเป็น
ธรรมดำและธรรมขาว ด้วยจักษุเช่นใด แม้จักษุเช่นนั้นก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น
บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้บอด.

2. เอกจักขุบุคคล บุคคลผู้มีตาข้างเดียว เป็นไฉน ?
บุคคลพึงได้โภคะที่ตนยังไม่ได้ หรือพึงกระทำโภคะที่ตนได้แล้วให้
เจริญ ด้วยจักษุเช่นใด จักษุเช่นนั้นย่อมมีแก่บุคคลบางคนในโลกนี้ บุคคล
พึงรู้ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล รู้ธรรมทั้งหลายที่มีโทษและไม่มีโทษ
รู้ธรรมทั้งหลายที่เลวและประณีต รู้ธรรมทั้งหลายที่มีส่วนเปรียบโดยเป็นธรรม
ดำและธรรมขาว ด้วยจักษุเช่นใด แม้จักษุเช่นนั้น ก็ย่อมไม่มีแก่บุคคลเช่น
นั้น บุคคลนี้เรียกว่า คนมีตาข้างเดียว.

3. ทวิจักขุบุคคล บุคคลผู้มีตาสองข้าง เป็นไฉน ?
บุคคลพึงได้โภคะที่ตนยังไม่ได้ หรือพึงกระทำโภคะที่ตนได้แล้วให้
เจริญ ด้วยจักษุเช่นใด จักษุเช่นนั้น ย่อมมีแก่บุคคลบางคนในโลกนี้ บุคคล
พึงรู้ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล รู้ธรรมทั้งหลายที่มีโทษและไม่มีโทษ
รู้ธรรมทั้งหลายที่เลวและประณีต รู้ธรรมทั้งหลายที่มีส่วนเปรียบโดยเป็นธรรมดำ
และธรรมขาว ด้วยจักษุเช่นใด แม้จักษุเช่นนั้นก็ย่อมมีแก่บุคคลนั้น บุคคลนี้
เรียกว่า คนมีตาสองข้าง.

อรรถกถาอันธบุคคลคือบุคคลผู้บอดเป็นต้น


ข้อว่า "ตถารูปํ จกฺขุํ น โหติ" ความว่า จักษุ คือ ปัญญาที่มี
ชาติอย่างนั้น มีสภาวะอย่างนั้น ย่อมไม่มีแก่เขา.
สองบทว่า "ผาตึ กเรยฺย" ได้แก่ พึงกระทำการเผยแผ่ คือ ทำให้
เจริญ.